การจัดการโครงการ

ใส่ความเห็น

กรกฎาคม 7, 2013 โดย P Kaewsarn

การจัดการโครงการที่ได้รับการยอมรับเพิ่มมากขึ้นบ่งชี้ว่าการประยุกต์ใช้ความรู้ กระบวนการ ทักษะ เครื่องมือ และเทคนิค ที่เหมาะสมสามารถทำให้โครงการประสบความสำเร็จได้ บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งขององค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับโดยทั่วไปและให้เป็นวิธีการปฏิบัติที่ดี “ได้รับการยอมรับโดยทั่วไป” หมายถึง การนำความรู้และวิธีการปฏิบัติไปประยุกต์ใช้จัดการโครงการโดยทั่วไป “วิธีการปฏิบัติที่ดี” หมายถึงมีข้อตกลงกันทั่วไปว่าการนำทักษะ เครื่องมือและเทคนิกเหล่านี้ไปใช้งานสามารถเพิ่มโอกาสความสำเร็จของโครงการได้

1.1  โครงการคืออะไร?

โครงการหมายถึงการดำเนินการชั่วคราวเพื่อสร้างสินค้า บริการ หรือผลอย่างหนึ่งอย่างใด โดยมีการกำหนดเวลาเริ่มและเวลาจบหรือแล้วเสร็จ เวลาสิ้นสุดโครงการจะเกิดขึ้นเมื่อโครงการใกล้บรรลุเป้าหมายหรือถูกยกเลิกไปเมื่อเห็นว่าไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้ หรือเป้าหมายไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป ช่วงเวลาชั่วคราว หมายถึง ห้วงเวลาอันสั้นโดยปกติแล้วไม่หมายความรวมถึงเวลาของผลิตภัณฑ์ บริการ หรือผลที่ได้จากของโครงการ  โครงการส่วนใหญ่ต้องการที่จะให้บรรลุถึงเป้าหมายสุดท้ายของโครงการ ตัวอย่างเช่นโครงการสร้างอนุสาวรีย์แห่งชาติ ต้องมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้สื่อถึงศตวรรตที่ผ่านมาในอดีต

โครงการสามารถสร้าง ผลิตภัณฑ์ซึ่งเป็นส่วนประกอบชิ้นหนึ่งของอุปกรณ์ใดๆ หรือเบ็จเสร็จสมบูรณ์พร้อมใช้งานด้วยตัวของมันเอง โครงการสามารถเพิ่มฟังก์ชันทางธุรกิจเพื่อสนับสนุนการผลิตหรือการกระจายสินค้า และโครงการสามารถสร้างผลขั้นสุดท้ายในรูปแบบเอกสาร เช่น การทำโครงการวิจัยเพื่อพัฒนาความรู้ที่สามารถนำมากำหนดทิศทางในปัจจุบัน หรือกำหนดกระบวนการใหม่เพื่อประโยชน์ต่อสังคม

1.2  การจัดการโครงการคืออะไร

การจัดการโครงการ คือ การประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ เครื่องมือ และเทคนิก เพื่อทำกิจกรรมให้บรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ การบริหารจัดการโครงการสามารถทำได้โดยการบูรณาการประยุกต์ใช้ กระบวนการบริหารจัดการโครงการทั้ง 42 กลุ่ม อย่างสมเหตุสมผล ดดยแบ่งเป็น 5 กลุ่มกระบวนการ คือ

  • การกำหนดค่าเริ่มต้น
  • การวางแผน
  • การดำเนินการ
  • การตรวจสอบและควบคุม
  • การปิดกระบวนการ

การจัดการโครงการแบ่งเป็นแต่ละประเภทดังนี้

  • กำหนดวัตถุประสงค์
  • กำหนดเรื่องที่จำเป็นต้องดำเนินการทั้งหมด หัวข้อที่เป็นกังวล และความคาดหวังของแต่ละกระบวนการตามที่ได้วางแผนไว้และตัวชี้วัด
  • สร้างดุลภาพความสำเร็จของโครงการตามองค์ประกอบดังนี้
    • ขอบเขต
    • คุณภาพ
    • กำหนดการ
    • งบประมาณ
    • ทรัพยากร
    • ความเสี่ยง

โครงการเฉพาะแต่ละโครงการจะมีข้อจำกัดที่มุ่งเน้นเฉพาะข้อที่ผู้จัดการโครงการเห็นว่ามีความจำเป็น

ความสัมพันธ์ระหวังปัจจัยเหล่านี้คือ ถ้ามีปัจจัยหนึ่งเกิดการเปลี่ยนแปลงจะทำให้ปัจจัยอื่นได้รับผลกระทบและเกิดการเปลี่ยนแปลงไปด้วย ตัวอย่างเช่น หากต้องทำให้กำหนดการสำเร็จของโครงการสั้นลงจำเป็นต้องเพิ่มงบประมาณสำหรับทรัพยากรจึงจะทำให้ปริมาณงานเท่าเดิมสำเร็จได้ในเวลาที่สั้นกว่า หากไม่สามารถเพิ่มงบประมาณได้ ขอบเขตหรือคุณภาพอาจลดลงเพื่อให้โครงการสำเร็จได้ด้วยงบประมาณเท่าเดิม ผู้มีส่วนได้เสียของโครงการอาจมีแนวคิดที่ต่างออกไปจากเดิมซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยที่สำคัญที่สุด ทำให้โครงการเกิดความท้าทายยิ่งขึ้น การเปลี่ยนแปลงความต้องการของโครงการอาจทำให้เกิดความเสี่ยงเพิ่มขึ้น ผู้ทำโครงการต้องสามารถเข้าใจสถาณการณ์เพื่อสร้างความสมดุลให้โครงการสามารถสำเร็จได้

การเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอด ทำให้การวางแผนโครงการต้องได้รับการทบทวนแก้ไขเปลี่ยนแปลงอย่างระมัดระวังตลอดวัฎจักรของโครงการ ทำให้เกิดการทบทวนและปรับปรุงอย่างต่อเนื่องจนได้แผนงานที่มีข้อมูลรายละเอียดมากขึ้น มีความเฉพาะเจาะจงมากขึ้น และมีความแม่นยำสูงขึ้นถูกนำไปใช้สำหรับดำเนินโครงการ

1.3  ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการโครงการ การบริหารจัดการโครงการ และการจัดผลงาน

ในองค์กรการจัดการโครงการขนาดใหญ่ จะมีการระบุการจัดการโครงการไว้อย่างเป็นขั้นตอนในโปรแกรมการจัดการ และการจัดการผลงาน ดังรูปที่ 1-1 กลยุทธขององค์กรและลำดับความสำคัญถูกเชื่อมถึงกันและมีความสัมพันธ์กันระหว่างผลงานสะสมกับโปรแกรม และโปรแกรมกับเอกลักษณ์ของโครงการ การวางแผนองค์กรส่งผลไปยังโครงการในรูปของแบบการจัดลำดับความสำคัญซึ่งขึ้นอยู่กับความเสี่ยง ฐานะทางการเงิน และแผนกลยุทธขององค์กร การวางแผนองค์กรสามารถวางแผนการเงินหรือการสนับสนุนองค์ประกอบโครงการได้โดยตรงขึ้นอยู่กับลักษณะความเสี่ยง ความจำเพาะของธุรกิจ หรือเป็นโครงการประเภททั่วไป เช่น โครงสร้างพื้นฐานและการปรับปรุงกระบวนการภายใน

โครงการ โปรแกรม และผลงาน มีระเบียบวิธีที่แตกต่างกัน ดังตารางที่ 1

1.3.1        การจัดการงานสะสม

ผลงานสะสมหมายถึง การรวบรวมโครงการ โปรแกรม และงานที่เกี่ยวข้องเข้าไว้ด้วยกันทำให้บริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อความสำเร็จตรงตามวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธของธุรกิจ โครงการหรือโปรแกรมอาจไม่จำเป็นต้องเป็นอิสระต่อกันหรือมีความสัมพันธ์กันโดยตรง ตัวอย่างเช่น โครงสร้างพื้นฐานหนึ่งถูกสร้างขึ้นโดยจุดประสงค์เพื่อให้ได้ผลตอบแทนสูงสุดจากการลงทุน  อาจบรรจุเข้ากับผลงานสะสมซึ่งประกอบด้วย น้ำมันและก๊าซ สำหรับพลังงานไฟฟ้า น้ำ ถนน ราง และสนามบิน  อาจเลือกจัดโครงการที่มีความคล้ายกันเข้าเป็นโปรแกรมเดียวกัน เช่น จัดกลุ่มโครงการที่เกี่ยวกับพลังงานไฟฟ้าเข้าด้วยกันเป็นโปรแกรมการจัดการด้านพลังงานเช่นเดียวกับโครงการเกี่ยวกับน้ำอาจจัดให้เป็นโปรแกรมการจัดการน้ำ

การจัดการงานสะสมหมายถึงการรวมผลงานสะสมตั้งแต่หนึ่งอย่างหรือมากกว่าเข้าด้วยกันและบริหารจัดการเป็นศูนย์กลาง ซึ่งประกอบด้วย การระบุเอกลักษณ์ การระบุลำดับความสำคัญ การอนุมัติ การจัดการ และการควบคุมโครงการ โปรแกรม และงานอื่นที่เกี่ยวข้อง

โครงการ โปรแกรม ผลงาน
ขอบเขต มีการกำหนดเป้าหมาย เพื่อพัฒนากระบวนการตลอดวัฏจักรโครงการ มีขอบเขตกว้างกว่าและระบุผลประโยชน์ที่มากกว่า มีการระบุขอบเขตของธุรกิจซึ่งเปลี่ยนแปลงตามเป้าหมายขององค์กร
การเปลี่ยนแปลง ผู้จัดการโครงการคาดหวังให้การเปลี่ยนแปลงอยู่ภายใต้การจัดการและควบคุมได้ ผู้จัดการโปรแกรมต้องคาดหวังการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอกพร้อมกับเตรียมการจัดการผลกระทบ ผู้จัดการผลงานพิจารณาวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องในภาพรวม
การวางแผน ผู้จัดการโครงการใช้ข้อมูลระดับสูง เพื่อวางแผนรายละเอียดโครงการตลอดช่วงอายุโครงการ ผู้จัดการโปรแกรมพัฒนาแผนโปรแกรมทั้งหมดและสร้างแผนระดับสูงเพื่อเป็นแนวทางสำหรับวางแผนรายละเอียดในระดับองค์ประกอบ ผู้จัดการผลงานสร้างและรักษากระบวนการที่จำเป็นรวมถึงสื่อสารให้ไปในทิศทางเดียวกัน
การจัดการ ผู้จัดการโครงการจัดการทีมงานให้ทำงานบรรลุผลตามเป้าหมาย ผู้จัดการโปรแกรมจัดการทีมงานและผู้จัดการโครงการให้วิสัวทัศและความเป็นผู้นำ ผู้จัดการผลงานจัดการหรือประสานงานการจัดการผลงาน
ความสำเร็จ ประเมินความความสำเร็จด้วยผลิตภัณฑ์และ คุณภาพของโครงการ งบประมาณ และความพึงพอใจของลูกค้า ประเมินความสำเร็จด้วยขีดความสามารถที่สามารถทำได้ตามผลประโยชน์และความจำเป็น วัดความสำเร็จด้วยศักยภาพของแต่ละองค์ประกอบประสมผลสำเร็จไปในทิศทางเดียวกัน
พิจารณาวิเคราะห์ ผู้จัดการโครงการติดตามและควบคุมงานการผลิตสินค้าหรือบริการ หรือผลที่ต้องการได้รับ ผู้จัดการโปรแกรมตรวจติดตามกระบวนการของแต่ละองค์ประกอบของโปรแกรมเพื่อให้แน่ใจว่าผลงานโดยรวมเป็นไปตามเป้าหมาย ทั้งกำหนดการ  งบประมาณ และผลประโยชน์ที่พึงได้รับ ผู้จัดการผลงานติดตามศักยภาพให้ไปในทิศทางเดียวกัน และติดตามดัชนีมูลค่า

ใส่ความเห็น

หมวดหมู่

ความเห็นล่าสุด

คลังเก็บ